
ทุจริตคิดโกงชาติ จะพินาศทั้งราษฎร์รัฐ
ปัญหาการคอรัปชั่น (Corruption) เป็นปัญหาที่รุมแรงปัญหาหนึ่งของการเมือง การบริหารของไทย และยังคงเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาช้านาน จนถึงปัจจุบัน และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น คอรัปชั่น หมายถึง ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการบุติธรรม ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น
1. การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต
2. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ
3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน
ประเภทของคอรัปชั่น มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่
1. การคอรัปชั่นขนาดเล็กน้อย (petty corruption) คือ การรับเงินที่ไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อดำเนินการบางอย่างให้กับผู้ที่ให้เงิน
2. การคอรัปชั่นขนาดใหญ่ (big corruption) ซึ่งมักเป็นการคอรัปชั่นของเจ้าหน้าที่ระดับสูง ที่รับเงินในรูปแบบของสินบนเป็นเงินจำนวนสูง และโครงการใหญ่ๆ เช่น บริษัทต่าง ๆ
3. การให้ของขวัญ (gift) เป็นการคอรัปชั่นอีกประเภทหนึ่ง เป็นการให้ตอบแทนในรูปแบบสิ่งของ หรือการให้ตอบแทนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเชิญไปรับประทามอาหาร ซึ่งเป็นการพยายามสร้างความสัมพันธ์อันใกล้ชิด
สาเหตุของคอรัปชั่น
1. คนในสังคมส่วนใหญ่ นับถือความร่ำรวย ย่อมเป็นแรงจูงใจในการแสวงหาเงินทอง
2. ค่านิยมแบบนิยมพวกพ้องและเครือญาติ ความสัมพันธ์ในเชิงผลประโยชน์
3. ระบบอุปถัมภ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง สร้างลูกน้องไว้ช่วยเหลือตนในเรื่องต่าง ๆ
4. ระบบการควบคุมและตรวจสอบที่ขาดประสิทธิภาพ
5. สภาพทางการเมืองที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น เพื่อช่วงชิงตำแหน่งทางการเมืองและผลประโยชน์
ดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชั่นได้นั้นต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
ประการแรก คือการสร้างค่านิยมความมีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งอยู่ในระดับปัจเจกบุคคล
ประการที่สอง คือ การส่งเสริมแนวคิดเกี่ยวกับธรรมาภิบาลให้เป็นที่ยอมรับในทุกภาคส่วนของสังคม เป็นกฎเกณฑ์กติกาของสังคมในการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น